Learning Log 5
Thursday 7th February 2019
วันนี้เนื้อหาที่เรียนค่อนข้างเยอะ มีหัวข้อใหญ่ๆคือ
หลักการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
และวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับงานศิลปะเด็กปฐมวัย ดังนี้
✨ หลักการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ✨
🌠 ความสำคัญ
🔸 ศิลปะ เป็นพื้นฐานทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะศิลปะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีประสบการณ์ที่หลากหลาย
- ประสบการณ์ด้านการสำรวจ ตรวจสอบ (สังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว)
- ประสบการณ์ด้านวัสดุ-อุปกรณ์ (เรียนรู้การใช้เครื่องมือต่างๆ)
- ประสบการณ์ทางด้านความรู้สึก และการใช้ประสาทสัมผัส
ประสบการณ์เหล่านี้เป็นประสบการณ์ตรง ที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เผชิญ กับความเป็นจริงที่เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืช สถานที่และเหตุการณ์ต่างๆ
🌠 จุดมุ่งหมายในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
🔸 การสอนศิลปะเด็ก ไม่ใช่การสอนให้เด็กวาดรูปเก่ง
🔸 การสอนศิลปะเด็ก เป็นการปลูกฝังนิสัยอันดีงาม ละเอียดอ่อน และให้มีความพร้อมสำหรับการศึกษาในระดับสูงขึ้นต่อไป
🔸การสอนศิลปะเด็กจึงมีจุดมุ่งหมาย เพื่อ
1.ฝึกทักษะการใช้มือและเตรียมความพร้อม ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
2.ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ + ความสามารถของเด็กแต่ละคน
3.พัฒนาทางร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและบุคลิกภาพ
4.ปลูกฝังค่านิยม เจตคติ และคุณสมบัติที่ดีของศิลปะ และวัฒนธรรมไทย
5.ฝึกให้เด็กได้เริ่มต้นเรียนรู้การใช้เครื่องมือ เครื่องใช้ในการทำงานศิลปะ ตลอดจนรู้จักเก็บรักษา และทำความสะอาดอย่างถูกต้อง
6.ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม
7.เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกอย่างอิสระ ผ่อนคลาย สนุกสนาน และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
8.นำประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
🌠 บทบาทของครูศิลปะ
🔸 ครู คือ บุคคลสำคัญที่สุดในการจัดการเรียนการสอนศิลปะ
- เป็นผู้สร้างบรรยากาศ ( ในการประดิษฐ์ คิดค้น และผลิตผลงาน)
- เป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน (พูดคุย ชักจูง เร้าความสนใจ ให้กำลังใจ)
- เป็นผู้ดูแลเด็กให้สร้างสรรค์งาน ( ให้ความรัก ความอบอุ่น เป็นกันเอง และคอยให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ)
- เป็นต้นแบบที่ดี (สาธิตวิธีการที่ถูกต้อง ไม่เผด็จการ ส่งเสริมการกล้าคิด กล้าตัดสินใจ)
- เป็นผู้อำนวยความสะดวก (จัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ รูปแบบศิลปะหลากหลาย)
🔸 บทบาทของครู ( เลิศ อานันทะ : 2533 )
1.สอนด้วยใจรัก และเอาใจใส่
2.ยอมรับความสามารถเด็กแต่ละคน
3.เปิดโอกาสและให้อิสระเด็กในการสร้างผลงาน ไม่รีบร้อนแก้ไขงาน
4.ไม่แทรกแซงความคิดเด็ก หรือแก้ปัญหาแทนเด็ก แต่ส่งเสริมให้เด็กกล้าคิด กล้าทำ และกล้าแสดงออก
5.กระตุ้น ยั่วยุ ท้าทายให้เด็กแสดงออกอย่างเต็มความสามารถ
6.มีการวางแผน + จัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ล่วงหน้าพร้อมทำกิจกรรม
🌠 ข้อควรคำนึงในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
1.หลีกเลี่ยงการให้แบบ การวาดภาพตามรอยปะ หรือใช้สมุดภาพระบายสี เพราะทำให้เด็กสูญเสียความคิดสร้างสรรค์
2.ต้องช่วยพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองให้แก่เด็ก ให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ ใช้คำพูดทางบวก เช่น หนูทำได้...ลองทำดูสิ
3.ไม่บีบบังคับหรือคาดคั้นเอาความหมายจากภาพ ให้เด็กพูดคุยอย่างสบายใจ และเข้าใจในผลงานของตนเอง
4.ไม่แก้ไขหรือช่วยเด็กทำผลงาน เป็นแค่ผู้สังเกตการณ์และผู้ช่วยเหลือ
5.ไม่วิจารณ์งานศิลปะเด็ก และมีวิธีการประเมินงานที่เหมาะสม
6.มีส่วนในการช่วยให้ผู้ปกครองเห็นคุณค่าของงานเด็ก
7.มีส่วนช่วยขยายประสบการณ์ทางศิลปะชองเด็ก ไม่อยู่แต่ในห้องเรียน ควรพาเด็กออกสำรวจ สัมผัส สังเกต ทัศนศึกษา เยี่ยมชมงานศิลปะตามแหล่งต่างๆ
🌠 การเตรียมการสำหรับการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
- การสร้างข้อตกลง และระเบียบการใช้วัสดุ อุปกรณ์
- การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอ
- การจัดวางวัสดุ อุปกรณ์ให้สะดวกแก่การใช้งาน
- การจัดเตรียมเครื่องมือรักษาความสะอาด (ฟองน้ำ ผ้าเช็ดมือ ถังขยะ ถังน้ำ)
- การจัดเตรียมพื้นที่ในการทำงานอย่างเหมาะสม และเพียงพอ
- การจัดเก็บผลงาน / การจัดสถานที่แสดงผลงาน
🌠 ลำดับขั้นตอนการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
🔸 ขั้นตอนการสอนศิลปะ
1. เลือกเรื่องที่จะสอน
2 .กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอน
3. เตรียมการก่อนสอน
- เตรียมแผนการสอน ➔ เรื่อง จุดประสงค์ เนื้อหา ระยะเวลา สื่อการสอน จำนวนเด็ก จำนวนกิจกรรม สถานที่
- เตรียมอุปกรณ์การสอน
4. ทดลองและตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนลงมือสอนจริง
5. ทำการสอนจริงตามแผน
6. เตรียมตัวเด็กให้พร้อมก่อนการลงมือทำผลงาน เช่น การแบ่งกลุ่มเด็ก การให้เด็กสวมผ้ากันเปื้อน การปฏิบัติตามข้อตกลง
7. การปฏิบัติงานของเด็ก โดยมีครูเป็นผู้ดูแล แนะนำ ช่วยเหลือ ตลอดจนเขียนชื่อ และจดบันทึกข้อมูล
8. การเก็บ การรักษา และการทำความสะอาด
9. การประเมินผลงานเด็ก
🌠 เทคนิควิธีสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
➤ การสอนศิลปะเด็กให้ดีและประสบผลสำเร็จ
⇨ เข้าถึง – ดูแล เอาใจใส่ ใกล้ชิดเด็กแต่ละคนอย่างเท่าเทียม
⇨ เข้าใจ – ความสามารถ ความแตกต่างระหว่างบุคคล
⇨ ให้ความรัก – รักและเข้าใจ สนับสนุนและพัฒนา ช่วยเหลือ
⇨ สร้างสรรค์บรรยากาศ – หลากหลาย สนุกสนาน อิสระ
⇨ มีระเบียบวินัย – มีข้อตกลงร่วมกัน และปลูกฝังเรื่องระเบียบวินัยในการทำงาน
⇨ ปลอดภัย – คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก
➤ การสอนให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
⇨ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างเสรี มีอิสระในการสร้างสรรค์งาน
⇨ ฝึกหัดให้เกิดการเรียนรู้ ทดลองด้วยตนเอง ลองผิดลองถูก
⇨ เรียนรู้การวางแผนงานและแก้ไขปัญหา
⇨ ส่งเสริมการแสดงออกอย่างหลากหลายรูปแบบ
⇨ เน้นการเรียนปนเล่น
⇨ สนับสนุน/เน้นเรื่องคุณค่าความงาม ความดี
✨ วัสดุ อุปกรณ์ สำหรับงานศิลปะเด็กปฐมวัย ✨
🌠 วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะ
วัสดุ คือ สิ่งที่ใช้แล้วหมดไป เช่น กระดาษ สี กาว ฯลฯ
วัสดุที่ใช้ในการทำผลงานทางศิลปะอาจเป็นวัสดุที่มีขายทั่วไปหรือเป็นวัสดุจากธรรมชาติ หรือที่มีในท้องถิ่น และเหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะของเด็ก หลีกเลี่ยงวัสดุที่เป็นอันตรายกับเด็ก เช่น วัสดุที่มีปลายแหลมคม แตกหักง่าย ภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมี หรือน้ำยาต่างๆที่ยังอาจติดค้าง หรือมีกลิ่นระเหยที่เป็นอันตรายต่อเด็ก
🌠 วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย
🔸 กระดาษ ➨ เป็นวัสดุที่สามารถนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ ได้อย่างกว้างขวาง เพราะ หาง่าย ราคาไม่แพง เป็นวัสดุที่เด็กคุ้นเคย เช่น กระดาษวาดเขียน กระดาษปรู๊ฟ กระดาษโปสเตอร์สีต่างๆ กระดาษมันปู กระดาษจากนิตยสารที่ไม่ใช้แล้ว เป็นต้น
การนำกระดาษมาใช้กับเด็กครูควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้งานของกิจกรรมนั้นๆ เพื่อจะได้งานที่ดี สวยงามและเหมาะสม ไม่ควรใช้กระดาษที่มีราคาแพงจนเกินไป
🔸 กระดาษวาดเขียน ➨ ซึ่งมีความหนาไม่เท่ากัน ที่เรียกเป็นปอนด์ มี 60 80 100 ใช้ได้ดีกับงานวาดรูป ระบายสีทุกชนิดสำหรับเด็ก
🔸 กระดาษโปสเตอร์ ➨ มีทั้งชนิดหน้าเดียว และสองหน้า ทั้งหนาและบาง สีสดใส หลากสี ราคาค่อนข้างแพง ใช้ในงานตัด ประดิษฐ์เป็นงานกระดาษสามมิติเป็นส่วนมาก
🔸 กระดาษมันปู ➨ เป็นกระดาษผิวเรียบมันด้านหนา ด้านหลังเป็นสีขาว มีสีทุกสี เนื้อบาง เหมาะกับการทำศิลปะประเภทฉีก ตัด พับ ปะกระดาษ
🔸 กระดาษจากนิตยสาร ➨ เป็นกระดาษที่เหมาะในการนำมาใช้กับเด็กเล็กๆ เพราะไม่ต้องซื้อหา เพียงแต่สะสมไว้ ซึ่งสามารถใช้แทนกระดาษมันปูได้เป็นอย่างดี
🔸 กระดาษหนังสือพิมพ์ ➨ เป็นกระดาษที่ใช้ได้เช่นเดียวกับกระดาษนิตยสาร แต่จะบางกว่า แต่หมึกอาจเลอะมือเด็กได้มากกว่า แต่ก็มีขนาดใหญ่ใช้ในการรองปูโต๊ะหรือพื้นกันเปื้อน ใช้ในงานที่ต้องการกระดาษชิ้นใหญ่ๆ เช่นการทำหุ่นตัวใหญ่ๆ
🌠 สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย
🔸 สี ➨ เป็นวัสดุที่ดึงดูดความสนใจของเด็กเป็นอย่างมาก สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย เช่น สีเทียน สีฝุ่น สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร สีจากธรรมชาติต่างๆ สีแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกิจกรรมแต่ละประเภทที่จัดให้กับเด็ก
🔸 สีเทียน( Caryon ) ➨ คือสีที่ผสมกับขี้ผึ้ง แล้วทำเป็นแท่ง มีหลายสีหลายขนาด สีเทียนที่ดีควรมีสีสด ไม่มีไขเทียนมากเกินไป สีเทียนที่มีราคาถูกมักมีส่วนผสมของขี้ผึ้งมากกว่าเนื้อสี เมื่อนำมาใช้จะได้สีอ่อนๆ ใสๆ ไม่ชัดเจน มีเทียนไขเกาะกระดาษหนา ควรเลือกชนิดที่มีเนื้อสีมากกว่าเนื้อเทียน มีสีสด แท่งโต เพื่อเด็กหยิบจับถนัดมือกว่าแท่งเล็กและไม่หักง่าย หากซื้อเป็นกล่องควรเปิดดูที่มีสีสดๆ สีเข้มๆมากกว่าสีอ่อนๆ ถ้าไม่มีสีขาวเลยจะดีกว่า เพราะเด็กใช้สีขาวน้อย
🔸 สีชอล์กเทียน(oil pasteal) ➨ เป็นสีที่มีราคาแพงกว่าสีเทียนธรรมดา โดยทั่วไปคล้ายสีเทียน เป็นสีชอล์กที่ผสมน้ำมันหรือไข สีสดใส เนื้อนุ่ม สีหนา เมื่อระบายด้วยสีชนิดนี้แล้ว สามารถใช้เล็บ นิ้วมือ หรือกระดาษทิชชู ตกแต่ง เกลี่ยสีให้เข้ากันคล้ายรูปที่ระบายด้วยสีน้ำมัน สีชอล์กมักจะทำเป็นแท่งกลมเล็กๆ และมีสีมากเกินไปเหมาะสำหรับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก
🔸 สีเทียนพลาสติก (plastic crayon) ➨ ผลิตขึ้นจากสีและพลาสติกผสม ทำเป็นแท่งเล็กๆ แข็ง มีสีสดหลายสี ใช้ระบายสีง่าย เหลาได้เหมือนดินสอ จึงสามารถระบายในส่วนที่มีรายละเอียดได้และสามารถใช้ยางลบธรรมดาลบบางส่วนที่ไม่ต้องการออกได้ แต่มีราคาแพงมาก
🔸 สีเมจิก (Water color) ➨ บรรจุเป็นด้ามคล้ายปากกามี 2 ชนิด คือชนิดปลายแหลมและปลายตัด เป็นสีที่สว่างสวยงามและสดใส เหมาะสำหรับการขีดเขียนลายเส้น หรือการเขียนตัวหนังสือแต่อาจไม่เหมาะสำหรับเด็กระบายสีเนื้อที่กว้าง แต่เด็กเล็กๆ จะชอบเพราะใช้สะดวก สีสด แห้งเร็ว ถ้าเปื้อนล้างออกง่าย
🔸 ปากกาปลายสักหลาด(felt pen) ➨ บางทีเรียก ปากกาเคมี เป็นปากกาพลาสติก ปากเป็นสักหลาดแข็ง ภายในบรรจุด้วยหลอดสี เมื่อเขียนหมึกจะไหลซึมผ่านปากสักหลาดมาสู่พื้นกระดาษให้สีสดใสมาก ไม่เหมาะในการระบายพื้นที่กว้าง ถ้าทิ้งไว้นานๆ สีจะซีดเร็ว ควรให้เด็กสวมปลอกปากกาทุกครั้งที่เขียนเสร็จ
🔸 ดินสอ(pencil) ➨ เด็กๆ ส่วนมากอยากใช้ดินสอในการวาดรูป เหมือนผู้ใหญ่ทำกัน แต่อย่างไรก็ดี ไม่ควรใช้ดินสอเป็นเครื่องมือในการวาดรูปสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี เพราะการเสดงออกตามธรรมชาติของเด็กจะหดหายไป
🔸 ดินสอสี(color pencil) ➨ หรือสีไม้ ดินสอสีก็เช่นเดียวกับดินสอ คือเหมาะสำหรับเด็กโตๆ มากกว่าเด็กเล็กๆ เพราะนอกจากจะหัก ทู่ง่าย ต้องเหลาบ่อยๆ มีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับเทียนหรือสีประเภทผสมน้ำ
🔸 สีที่ต้องผสมน้ำหรือเป็นน้ำ ➨ สีประเภทนี้ ได้แก่ สีฝุ่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร สีพลาสติกผสมน้ำ ฯลฯ สีแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะ
🔸 สีฝุ่น(tempera) ➨ เป็นสีผง ทึบแสง มีหลายสี ใช้ผสมน้ำให้ใสข้นเป็นครีมอาจผสมกาวหรือแป้งเปียกด้วย ขึ้นอยู่กับงานแต่ละชนิด มีราคาถูกกว่าสีประเภทอื่น เก็บไว้ใช้ได้นาน มีขายตามร้านเครื่องเขียนทั่วไป เวลาใช้ต้องผสมกับของเหลวที่เหมาะสม นอกจากน้ำแล้วก็มีน้ำนม น้ำแป้งและน้ำสบู่
🔸 สีโปสเตอร์(poster color) ➨ ก็คือสีฝุ่นที่ผลิตบรรจุขวดขาย เป็นสีทึบแสง มีหลายสีใช้ผสมน้ำ เป็นสีที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมใช้เลย ลักษณะคล้ายครีมมีราคาแพงกว่าสีฝุ่น เป็นสีที่เด็กๆ ใช้ง่าย แต่ถ้าต้องการสีอ่อนๆ จะผสมน้ำไม่ได้ จะต้องใช้สีขาวผสมจะได้สีอ่อน ระบายได้เรียบ
🔸 สีน้ำ(water color) ➨ เป็นสีโปร่งแสง ไหล ผสมกลมกลืนง่าย สามารถใช้ในส่วนที่เป็นรายละเอียดได้ มีทั้งที่เป็นหลอดและก้อน ใช่กับพู่กันกลมหรือพู่กันแบนขนนุ่มช่วยระบาย น้ำเป็นตัวละลายให้ได้สีเข้มหรือเจือจางต่างกันออกไป เด็กเล็กๆ มักจะไม่ค่อยชอบใช้สีน้ำ เพราะเด็กช่วงนี้หากใช้สีน้ำในช่วงนี้ เด็กจะต้องคอยใช้พู่กันจามสีอยู่เสมอจึงวาดได้ ทำให้กระดาษเป็นรอยจุดๆ เส้นต่างๆ จะไหลไปถึงกัน ทำให้ภาพไม่ชัดเจน จนในที่สุดก็ดูไม่รู้เรื่อง ทำให้เด็กเบื่อเพราะควบคุมสียาก จึงเหมาะกับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก
🔸 สีพลาสติก (plastic or acrylic) ➨ มีขายตามร้านวัสดุก่อสร้าง บรรจุในกระป๋องหลายขนาด และแบบในหลอด ราคาสูง มีเนื้อสีข้น ระบายได้เนื้อสีหยาบ มีกลิ่น เหมาะกับงานใหญ่ที่ไม่ต้องใช้รายละเอียดมากนัก สามารถใช้แทนสีฝุ่นหรือสีน้ำได้ ข้อเสียคือ แปรงหรือพู่กันจะต้องจุ่มไว้ในน้ำเสมอ ขณะที่พักการใช้ชั่วคราว และจะต้องล้างอย่างดีหลังจากเลิกใช้แล้ว เนื่องจากสีมีคุณสมบัติแห้งเร็วจะทำให้พู่กันหรือแปรงแข็งใช้ไม่ได้
🌠 สีจากธรรมชาติ
สีจากธรรมชาติจะเป็นสีที่ได้จาก ผัก ผลไม้ ดอกไม้ ใบไม้ ลำต้น ราก หรือ เปลือกของพืช ดิน ฯลฯ เป็นสีที่ไม่สารเคมีเจือปน จึงไม่เป็นอันตราย แก่เด็ก อย่างไรก็ตาม สีจากธรรมชาติบางชนิดก็อาจเป็นอันตรายที่เกิดจากอาการแพ้ในรูปแบบต่างๆได้
🌠 วัสดุที่ใช้ในการทำศิลปะ
🔸 กาว ➨ กาวที่เหมาะสมกับเด็กมากที่สุดคือกาวที่กวนเองจากแป้งมันหรือแป้งข้าวเหนียว เรียกว่าแป้งเปียก ราคาถูก ใช้งานได้ง่ายกว่ากาวชนิดอื่นๆ ไม่เหนียวเหนอะหนะหรือยืดยาวเป็นเส้น ล้างออกง่าย นอกจากนี้ยังมี กาวน้ำ และ กาวลาเท็กซ์ ส่วนกาวถาวร หรือนิยมเรียกกันว่า กาวตราช้าง หรือกาวร้อน มักใช้ติดงานที่ต้องการความติดแน่นคงทน หากติดมือจะล้างออกยากมากต้องแช่และล้างในน้ำอุ่น เหมาะสำหรับผู้ใหญ่
🔸 ดินเหนียว ➨ หรือดินตามธรรมชาติมีมากในต่างจังหวัด ขุดหาได้ทั่วไป มีความนิ่มเหนียว นำมาใช้ปั้น ตากแห้งหรือเผาเป็นเครื่องปั้นดินเผาได้ ระบายสีได้
🔸 ดินน้ำมัน ➨ เป็นดินที่มีส่วนผสมของน้ำมันผสมอยู่ มีกลิ่นแรง เนื้อนิ่มเมื่อโดนความร้อน และแข็งได้เมื่อเจออากาศเย็น เหนียวติดมือไม่เหมาะกับเด็กเล็กๆ
🔸 ดินวิทยาศาสตร์ ➨ มีลักษณะนิ่ม มีหลายสี ไม่เหนียวติดมือเหมือนดินน้ำมัน และมักจะไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายเจือปน จึงเหมาะสำหรับเด็ก
🌠 อุปกรณ์ที่ใช้ในงานศิลปะ
อุปกรณ์ คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน เป็นสิ่งที่ไม่หมดเปลืองไป แต่มีอายุในการใช้งานยืนนานตามชนิดหรือคุณภาพของสิ่งนั้นๆ
🌠 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี
1. สีเป็นองค์ประกอบของศิลปะที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกมากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่น
2. สีเป็นวัตถุที่ได้จากธรรมชาติหรือจากที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา
- สีจากธรรมชาติ เช่น สีของดอกไม้ ใบไม้ ผล ราก ลำต้น
- สีจากการสังเคราะห์ขึ้นมา เช่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีอะคริลิก สีฝุ่น สีน้ำมัน สีทาบ้าน สีพลาสติก ฯลฯ
✎ ทฤษฎีสี (Theory of colors) ✎
สีขั้นที่ 1
วันนี้เนื้อหาที่เรียนค่อนข้างเยอะ มีหัวข้อใหญ่ๆคือ
หลักการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
และวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับงานศิลปะเด็กปฐมวัย ดังนี้
✨ หลักการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย ✨
🌠 ความสำคัญ
🔸 ศิลปะ เป็นพื้นฐานทางการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย เพราะศิลปะช่วยให้เด็กปฐมวัยมีประสบการณ์ที่หลากหลาย
- ประสบการณ์ด้านการสำรวจ ตรวจสอบ (สังเกตสิ่งแวดล้อมรอบตัว)
- ประสบการณ์ด้านวัสดุ-อุปกรณ์ (เรียนรู้การใช้เครื่องมือต่างๆ)
- ประสบการณ์ทางด้านความรู้สึก และการใช้ประสาทสัมผัส
ประสบการณ์เหล่านี้เป็นประสบการณ์ตรง ที่ช่วยส่งเสริมให้เด็กได้เผชิญ กับความเป็นจริงที่เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืช สถานที่และเหตุการณ์ต่างๆ
🌠 จุดมุ่งหมายในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
🔸 การสอนศิลปะเด็ก ไม่ใช่การสอนให้เด็กวาดรูปเก่ง
🔸 การสอนศิลปะเด็ก เป็นการปลูกฝังนิสัยอันดีงาม ละเอียดอ่อน และให้มีความพร้อมสำหรับการศึกษาในระดับสูงขึ้นต่อไป
🔸การสอนศิลปะเด็กจึงมีจุดมุ่งหมาย เพื่อ
1.ฝึกทักษะการใช้มือและเตรียมความพร้อม ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
2.ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ + ความสามารถของเด็กแต่ละคน
3.พัฒนาทางร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและบุคลิกภาพ
4.ปลูกฝังค่านิยม เจตคติ และคุณสมบัติที่ดีของศิลปะ และวัฒนธรรมไทย
5.ฝึกให้เด็กได้เริ่มต้นเรียนรู้การใช้เครื่องมือ เครื่องใช้ในการทำงานศิลปะ ตลอดจนรู้จักเก็บรักษา และทำความสะอาดอย่างถูกต้อง
6.ฝึกการทำงานร่วมกันเป็นทีม
7.เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกอย่างอิสระ ผ่อนคลาย สนุกสนาน และใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
8.นำประสบการณ์ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
🌠 บทบาทของครูศิลปะ
🔸 ครู คือ บุคคลสำคัญที่สุดในการจัดการเรียนการสอนศิลปะ
- เป็นผู้สร้างบรรยากาศ ( ในการประดิษฐ์ คิดค้น และผลิตผลงาน)
- เป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน (พูดคุย ชักจูง เร้าความสนใจ ให้กำลังใจ)
- เป็นผู้ดูแลเด็กให้สร้างสรรค์งาน ( ให้ความรัก ความอบอุ่น เป็นกันเอง และคอยให้คำแนะนำ ช่วยเหลือ)
- เป็นต้นแบบที่ดี (สาธิตวิธีการที่ถูกต้อง ไม่เผด็จการ ส่งเสริมการกล้าคิด กล้าตัดสินใจ)
- เป็นผู้อำนวยความสะดวก (จัดเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ รูปแบบศิลปะหลากหลาย)
🔸 บทบาทของครู ( เลิศ อานันทะ : 2533 )
1.สอนด้วยใจรัก และเอาใจใส่
2.ยอมรับความสามารถเด็กแต่ละคน
3.เปิดโอกาสและให้อิสระเด็กในการสร้างผลงาน ไม่รีบร้อนแก้ไขงาน
4.ไม่แทรกแซงความคิดเด็ก หรือแก้ปัญหาแทนเด็ก แต่ส่งเสริมให้เด็กกล้าคิด กล้าทำ และกล้าแสดงออก
5.กระตุ้น ยั่วยุ ท้าทายให้เด็กแสดงออกอย่างเต็มความสามารถ
6.มีการวางแผน + จัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ล่วงหน้าพร้อมทำกิจกรรม
🌠 ข้อควรคำนึงในการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
1.หลีกเลี่ยงการให้แบบ การวาดภาพตามรอยปะ หรือใช้สมุดภาพระบายสี เพราะทำให้เด็กสูญเสียความคิดสร้างสรรค์
2.ต้องช่วยพัฒนาความเป็นตัวของตัวเองให้แก่เด็ก ให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจ ใช้คำพูดทางบวก เช่น หนูทำได้...ลองทำดูสิ
3.ไม่บีบบังคับหรือคาดคั้นเอาความหมายจากภาพ ให้เด็กพูดคุยอย่างสบายใจ และเข้าใจในผลงานของตนเอง
4.ไม่แก้ไขหรือช่วยเด็กทำผลงาน เป็นแค่ผู้สังเกตการณ์และผู้ช่วยเหลือ
5.ไม่วิจารณ์งานศิลปะเด็ก และมีวิธีการประเมินงานที่เหมาะสม
6.มีส่วนในการช่วยให้ผู้ปกครองเห็นคุณค่าของงานเด็ก
7.มีส่วนช่วยขยายประสบการณ์ทางศิลปะชองเด็ก ไม่อยู่แต่ในห้องเรียน ควรพาเด็กออกสำรวจ สัมผัส สังเกต ทัศนศึกษา เยี่ยมชมงานศิลปะตามแหล่งต่างๆ
🌠 การเตรียมการสำหรับการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
- การสร้างข้อตกลง และระเบียบการใช้วัสดุ อุปกรณ์
- การจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ให้เพียงพอ
- การจัดวางวัสดุ อุปกรณ์ให้สะดวกแก่การใช้งาน
- การจัดเตรียมเครื่องมือรักษาความสะอาด (ฟองน้ำ ผ้าเช็ดมือ ถังขยะ ถังน้ำ)
- การจัดเตรียมพื้นที่ในการทำงานอย่างเหมาะสม และเพียงพอ
- การจัดเก็บผลงาน / การจัดสถานที่แสดงผลงาน
🌠 ลำดับขั้นตอนการสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
🔸 ขั้นตอนการสอนศิลปะ
1. เลือกเรื่องที่จะสอน
2 .กำหนดจุดมุ่งหมายในการสอน
3. เตรียมการก่อนสอน
- เตรียมแผนการสอน ➔ เรื่อง จุดประสงค์ เนื้อหา ระยะเวลา สื่อการสอน จำนวนเด็ก จำนวนกิจกรรม สถานที่
- เตรียมอุปกรณ์การสอน
4. ทดลองและตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนลงมือสอนจริง
5. ทำการสอนจริงตามแผน
6. เตรียมตัวเด็กให้พร้อมก่อนการลงมือทำผลงาน เช่น การแบ่งกลุ่มเด็ก การให้เด็กสวมผ้ากันเปื้อน การปฏิบัติตามข้อตกลง
7. การปฏิบัติงานของเด็ก โดยมีครูเป็นผู้ดูแล แนะนำ ช่วยเหลือ ตลอดจนเขียนชื่อ และจดบันทึกข้อมูล
8. การเก็บ การรักษา และการทำความสะอาด
9. การประเมินผลงานเด็ก
🌠 เทคนิควิธีสอนศิลปะเด็กปฐมวัย
➤ การสอนศิลปะเด็กให้ดีและประสบผลสำเร็จ
⇨ เข้าถึง – ดูแล เอาใจใส่ ใกล้ชิดเด็กแต่ละคนอย่างเท่าเทียม
⇨ เข้าใจ – ความสามารถ ความแตกต่างระหว่างบุคคล
⇨ ให้ความรัก – รักและเข้าใจ สนับสนุนและพัฒนา ช่วยเหลือ
⇨ สร้างสรรค์บรรยากาศ – หลากหลาย สนุกสนาน อิสระ
⇨ มีระเบียบวินัย – มีข้อตกลงร่วมกัน และปลูกฝังเรื่องระเบียบวินัยในการทำงาน
⇨ ปลอดภัย – คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก
➤ การสอนให้เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
⇨ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกอย่างเสรี มีอิสระในการสร้างสรรค์งาน
⇨ ฝึกหัดให้เกิดการเรียนรู้ ทดลองด้วยตนเอง ลองผิดลองถูก
⇨ เรียนรู้การวางแผนงานและแก้ไขปัญหา
⇨ ส่งเสริมการแสดงออกอย่างหลากหลายรูปแบบ
⇨ เน้นการเรียนปนเล่น
⇨ สนับสนุน/เน้นเรื่องคุณค่าความงาม ความดี
✨ วัสดุ อุปกรณ์ สำหรับงานศิลปะเด็กปฐมวัย ✨
🌠 วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะ
วัสดุ คือ สิ่งที่ใช้แล้วหมดไป เช่น กระดาษ สี กาว ฯลฯ
วัสดุที่ใช้ในการทำผลงานทางศิลปะอาจเป็นวัสดุที่มีขายทั่วไปหรือเป็นวัสดุจากธรรมชาติ หรือที่มีในท้องถิ่น และเหมาะสมกับวัยและวุฒิภาวะของเด็ก หลีกเลี่ยงวัสดุที่เป็นอันตรายกับเด็ก เช่น วัสดุที่มีปลายแหลมคม แตกหักง่าย ภาชนะที่เคยบรรจุสารเคมี หรือน้ำยาต่างๆที่ยังอาจติดค้าง หรือมีกลิ่นระเหยที่เป็นอันตรายต่อเด็ก
🌠 วัสดุที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย
🔸 กระดาษ ➨ เป็นวัสดุที่สามารถนำมาใช้สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะ ได้อย่างกว้างขวาง เพราะ หาง่าย ราคาไม่แพง เป็นวัสดุที่เด็กคุ้นเคย เช่น กระดาษวาดเขียน กระดาษปรู๊ฟ กระดาษโปสเตอร์สีต่างๆ กระดาษมันปู กระดาษจากนิตยสารที่ไม่ใช้แล้ว เป็นต้น
การนำกระดาษมาใช้กับเด็กครูควรคำนึงถึงความเหมาะสมในการใช้งานของกิจกรรมนั้นๆ เพื่อจะได้งานที่ดี สวยงามและเหมาะสม ไม่ควรใช้กระดาษที่มีราคาแพงจนเกินไป
🔸 กระดาษวาดเขียน ➨ ซึ่งมีความหนาไม่เท่ากัน ที่เรียกเป็นปอนด์ มี 60 80 100 ใช้ได้ดีกับงานวาดรูป ระบายสีทุกชนิดสำหรับเด็ก
🔸 กระดาษโปสเตอร์ ➨ มีทั้งชนิดหน้าเดียว และสองหน้า ทั้งหนาและบาง สีสดใส หลากสี ราคาค่อนข้างแพง ใช้ในงานตัด ประดิษฐ์เป็นงานกระดาษสามมิติเป็นส่วนมาก
🔸 กระดาษมันปู ➨ เป็นกระดาษผิวเรียบมันด้านหนา ด้านหลังเป็นสีขาว มีสีทุกสี เนื้อบาง เหมาะกับการทำศิลปะประเภทฉีก ตัด พับ ปะกระดาษ
🔸 กระดาษจากนิตยสาร ➨ เป็นกระดาษที่เหมาะในการนำมาใช้กับเด็กเล็กๆ เพราะไม่ต้องซื้อหา เพียงแต่สะสมไว้ ซึ่งสามารถใช้แทนกระดาษมันปูได้เป็นอย่างดี
🔸 กระดาษหนังสือพิมพ์ ➨ เป็นกระดาษที่ใช้ได้เช่นเดียวกับกระดาษนิตยสาร แต่จะบางกว่า แต่หมึกอาจเลอะมือเด็กได้มากกว่า แต่ก็มีขนาดใหญ่ใช้ในการรองปูโต๊ะหรือพื้นกันเปื้อน ใช้ในงานที่ต้องการกระดาษชิ้นใหญ่ๆ เช่นการทำหุ่นตัวใหญ่ๆ
🌠 สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย
🔸 สี ➨ เป็นวัสดุที่ดึงดูดความสนใจของเด็กเป็นอย่างมาก สีที่ใช้ในงานศิลปะของเด็กปฐมวัย เช่น สีเทียน สีฝุ่น สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร สีจากธรรมชาติต่างๆ สีแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกิจกรรมแต่ละประเภทที่จัดให้กับเด็ก
🔸 สีเทียน( Caryon ) ➨ คือสีที่ผสมกับขี้ผึ้ง แล้วทำเป็นแท่ง มีหลายสีหลายขนาด สีเทียนที่ดีควรมีสีสด ไม่มีไขเทียนมากเกินไป สีเทียนที่มีราคาถูกมักมีส่วนผสมของขี้ผึ้งมากกว่าเนื้อสี เมื่อนำมาใช้จะได้สีอ่อนๆ ใสๆ ไม่ชัดเจน มีเทียนไขเกาะกระดาษหนา ควรเลือกชนิดที่มีเนื้อสีมากกว่าเนื้อเทียน มีสีสด แท่งโต เพื่อเด็กหยิบจับถนัดมือกว่าแท่งเล็กและไม่หักง่าย หากซื้อเป็นกล่องควรเปิดดูที่มีสีสดๆ สีเข้มๆมากกว่าสีอ่อนๆ ถ้าไม่มีสีขาวเลยจะดีกว่า เพราะเด็กใช้สีขาวน้อย
🔸 สีชอล์กเทียน(oil pasteal) ➨ เป็นสีที่มีราคาแพงกว่าสีเทียนธรรมดา โดยทั่วไปคล้ายสีเทียน เป็นสีชอล์กที่ผสมน้ำมันหรือไข สีสดใส เนื้อนุ่ม สีหนา เมื่อระบายด้วยสีชนิดนี้แล้ว สามารถใช้เล็บ นิ้วมือ หรือกระดาษทิชชู ตกแต่ง เกลี่ยสีให้เข้ากันคล้ายรูปที่ระบายด้วยสีน้ำมัน สีชอล์กมักจะทำเป็นแท่งกลมเล็กๆ และมีสีมากเกินไปเหมาะสำหรับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก
🔸 สีเทียนพลาสติก (plastic crayon) ➨ ผลิตขึ้นจากสีและพลาสติกผสม ทำเป็นแท่งเล็กๆ แข็ง มีสีสดหลายสี ใช้ระบายสีง่าย เหลาได้เหมือนดินสอ จึงสามารถระบายในส่วนที่มีรายละเอียดได้และสามารถใช้ยางลบธรรมดาลบบางส่วนที่ไม่ต้องการออกได้ แต่มีราคาแพงมาก
🔸 สีเมจิก (Water color) ➨ บรรจุเป็นด้ามคล้ายปากกามี 2 ชนิด คือชนิดปลายแหลมและปลายตัด เป็นสีที่สว่างสวยงามและสดใส เหมาะสำหรับการขีดเขียนลายเส้น หรือการเขียนตัวหนังสือแต่อาจไม่เหมาะสำหรับเด็กระบายสีเนื้อที่กว้าง แต่เด็กเล็กๆ จะชอบเพราะใช้สะดวก สีสด แห้งเร็ว ถ้าเปื้อนล้างออกง่าย
🔸 ปากกาปลายสักหลาด(felt pen) ➨ บางทีเรียก ปากกาเคมี เป็นปากกาพลาสติก ปากเป็นสักหลาดแข็ง ภายในบรรจุด้วยหลอดสี เมื่อเขียนหมึกจะไหลซึมผ่านปากสักหลาดมาสู่พื้นกระดาษให้สีสดใสมาก ไม่เหมาะในการระบายพื้นที่กว้าง ถ้าทิ้งไว้นานๆ สีจะซีดเร็ว ควรให้เด็กสวมปลอกปากกาทุกครั้งที่เขียนเสร็จ
🔸 ดินสอ(pencil) ➨ เด็กๆ ส่วนมากอยากใช้ดินสอในการวาดรูป เหมือนผู้ใหญ่ทำกัน แต่อย่างไรก็ดี ไม่ควรใช้ดินสอเป็นเครื่องมือในการวาดรูปสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี เพราะการเสดงออกตามธรรมชาติของเด็กจะหดหายไป
🔸 ดินสอสี(color pencil) ➨ หรือสีไม้ ดินสอสีก็เช่นเดียวกับดินสอ คือเหมาะสำหรับเด็กโตๆ มากกว่าเด็กเล็กๆ เพราะนอกจากจะหัก ทู่ง่าย ต้องเหลาบ่อยๆ มีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับเทียนหรือสีประเภทผสมน้ำ
🔸 สีที่ต้องผสมน้ำหรือเป็นน้ำ ➨ สีประเภทนี้ ได้แก่ สีฝุ่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีผสมอาหาร สีพลาสติกผสมน้ำ ฯลฯ สีแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะ
🔸 สีฝุ่น(tempera) ➨ เป็นสีผง ทึบแสง มีหลายสี ใช้ผสมน้ำให้ใสข้นเป็นครีมอาจผสมกาวหรือแป้งเปียกด้วย ขึ้นอยู่กับงานแต่ละชนิด มีราคาถูกกว่าสีประเภทอื่น เก็บไว้ใช้ได้นาน มีขายตามร้านเครื่องเขียนทั่วไป เวลาใช้ต้องผสมกับของเหลวที่เหมาะสม นอกจากน้ำแล้วก็มีน้ำนม น้ำแป้งและน้ำสบู่
🔸 สีโปสเตอร์(poster color) ➨ ก็คือสีฝุ่นที่ผลิตบรรจุขวดขาย เป็นสีทึบแสง มีหลายสีใช้ผสมน้ำ เป็นสีที่ผสมเสร็จเรียบร้อยแล้วพร้อมใช้เลย ลักษณะคล้ายครีมมีราคาแพงกว่าสีฝุ่น เป็นสีที่เด็กๆ ใช้ง่าย แต่ถ้าต้องการสีอ่อนๆ จะผสมน้ำไม่ได้ จะต้องใช้สีขาวผสมจะได้สีอ่อน ระบายได้เรียบ
🔸 สีน้ำ(water color) ➨ เป็นสีโปร่งแสง ไหล ผสมกลมกลืนง่าย สามารถใช้ในส่วนที่เป็นรายละเอียดได้ มีทั้งที่เป็นหลอดและก้อน ใช่กับพู่กันกลมหรือพู่กันแบนขนนุ่มช่วยระบาย น้ำเป็นตัวละลายให้ได้สีเข้มหรือเจือจางต่างกันออกไป เด็กเล็กๆ มักจะไม่ค่อยชอบใช้สีน้ำ เพราะเด็กช่วงนี้หากใช้สีน้ำในช่วงนี้ เด็กจะต้องคอยใช้พู่กันจามสีอยู่เสมอจึงวาดได้ ทำให้กระดาษเป็นรอยจุดๆ เส้นต่างๆ จะไหลไปถึงกัน ทำให้ภาพไม่ชัดเจน จนในที่สุดก็ดูไม่รู้เรื่อง ทำให้เด็กเบื่อเพราะควบคุมสียาก จึงเหมาะกับเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก
🔸 สีพลาสติก (plastic or acrylic) ➨ มีขายตามร้านวัสดุก่อสร้าง บรรจุในกระป๋องหลายขนาด และแบบในหลอด ราคาสูง มีเนื้อสีข้น ระบายได้เนื้อสีหยาบ มีกลิ่น เหมาะกับงานใหญ่ที่ไม่ต้องใช้รายละเอียดมากนัก สามารถใช้แทนสีฝุ่นหรือสีน้ำได้ ข้อเสียคือ แปรงหรือพู่กันจะต้องจุ่มไว้ในน้ำเสมอ ขณะที่พักการใช้ชั่วคราว และจะต้องล้างอย่างดีหลังจากเลิกใช้แล้ว เนื่องจากสีมีคุณสมบัติแห้งเร็วจะทำให้พู่กันหรือแปรงแข็งใช้ไม่ได้
🌠 สีจากธรรมชาติ
สีจากธรรมชาติจะเป็นสีที่ได้จาก ผัก ผลไม้ ดอกไม้ ใบไม้ ลำต้น ราก หรือ เปลือกของพืช ดิน ฯลฯ เป็นสีที่ไม่สารเคมีเจือปน จึงไม่เป็นอันตราย แก่เด็ก อย่างไรก็ตาม สีจากธรรมชาติบางชนิดก็อาจเป็นอันตรายที่เกิดจากอาการแพ้ในรูปแบบต่างๆได้
🌠 วัสดุที่ใช้ในการทำศิลปะ
🔸 กาว ➨ กาวที่เหมาะสมกับเด็กมากที่สุดคือกาวที่กวนเองจากแป้งมันหรือแป้งข้าวเหนียว เรียกว่าแป้งเปียก ราคาถูก ใช้งานได้ง่ายกว่ากาวชนิดอื่นๆ ไม่เหนียวเหนอะหนะหรือยืดยาวเป็นเส้น ล้างออกง่าย นอกจากนี้ยังมี กาวน้ำ และ กาวลาเท็กซ์ ส่วนกาวถาวร หรือนิยมเรียกกันว่า กาวตราช้าง หรือกาวร้อน มักใช้ติดงานที่ต้องการความติดแน่นคงทน หากติดมือจะล้างออกยากมากต้องแช่และล้างในน้ำอุ่น เหมาะสำหรับผู้ใหญ่
🔸 ดินเหนียว ➨ หรือดินตามธรรมชาติมีมากในต่างจังหวัด ขุดหาได้ทั่วไป มีความนิ่มเหนียว นำมาใช้ปั้น ตากแห้งหรือเผาเป็นเครื่องปั้นดินเผาได้ ระบายสีได้
🔸 ดินน้ำมัน ➨ เป็นดินที่มีส่วนผสมของน้ำมันผสมอยู่ มีกลิ่นแรง เนื้อนิ่มเมื่อโดนความร้อน และแข็งได้เมื่อเจออากาศเย็น เหนียวติดมือไม่เหมาะกับเด็กเล็กๆ
🔸 ดินวิทยาศาสตร์ ➨ มีลักษณะนิ่ม มีหลายสี ไม่เหนียวติดมือเหมือนดินน้ำมัน และมักจะไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายเจือปน จึงเหมาะสำหรับเด็ก
🌠 อุปกรณ์ที่ใช้ในงานศิลปะ
อุปกรณ์ คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน เป็นสิ่งที่ไม่หมดเปลืองไป แต่มีอายุในการใช้งานยืนนานตามชนิดหรือคุณภาพของสิ่งนั้นๆ
🌠 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสี
1. สีเป็นองค์ประกอบของศิลปะที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกมากกว่าองค์ประกอบชนิดอื่น
2. สีเป็นวัตถุที่ได้จากธรรมชาติหรือจากที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้นมา
- สีจากธรรมชาติ เช่น สีของดอกไม้ ใบไม้ ผล ราก ลำต้น
- สีจากการสังเคราะห์ขึ้นมา เช่น สีน้ำ สีโปสเตอร์ สีอะคริลิก สีฝุ่น สีน้ำมัน สีทาบ้าน สีพลาสติก ฯลฯ
✎ ทฤษฎีสี (Theory of colors) ✎
สีขั้นที่ 1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น