วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2562

Learning Log 3

Learning Log 3

Thursday 24th January  2019

วันนี้อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ 
และนำใบงานกิจกรรมจากสัปดาห์ที่แล้วมาจัดเรียง ดังนี้ 

✨ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ ✨
🌠 ทฤษฎีพัฒนาการ
  🔸 พัฒนาการทางศิลปะของโลเวนเฟลด์ ( Lowenfeld)
🌠 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์
  🔸 ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด (Guiford)
        อธิบายความสามารถของสมองออกเป็น 3 มิติ 
        มิติที่ 1 เนื้อหา ➔ มิติเกี่ยวกับข้อมูล หรือสิ่งเร้าที่เป็นสื่อในการคิด 
        ■ สมองรับเข้าไปคิด พิจารณา 4 ลักษณะ 
                    - ภาพ
                    - สัญลักษณ์
                    - ภาษา
                    - พฤติกรรม 
        มิติที่ 2 วิธีการคิด ➔ มิติที่แสดงลักษณะการทำงานของสมองใน 5 ลักษณะ
                    - การรู้จัก การเข้าใจ
                    - การจำ
                    - การคิดแบบอเนกนัย (คิดได้หลายรูปแบบ หลากหลาย)
                    - การคิดแบบเอกนัย (ตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุด)
                    - การประเมินค่า
        มิติที่ 3 ผลของการคิด ➔ มิติที่แสดงถึงผลที่ได้จากการทำงานของสมอง จากมิติที่ 1 + มิติที่2
        ■ มี 6 ลักษณะ
                    - หน่วย
                    - จำพวก
                    - ความสัมพันธ์
                    - ระบบ
                    - การแปลงรูป
                    - การประยุกต์
  🔸 ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ (Torrance)
        แบ่งลำดับขั้นการคิดสร้างสรรค์ เป็น 5 ขั้น 
                    - ขั้นการค้นพบความจริง
                    - ขั้นการค้นพบปัญหา
                    - ขั้นการตั้งสมมุติฐาน
                    - ขั้นการค้นพบคำตอบ
                    - ขั้นยอมรับผลจากการค้นพบ
  🔸 ทฤษฎีความรู้สองลักษณะ (สมองสองซีก)
       การทำของสมองสองซีก ทำงานแตกต่างกัน 
       ♦ สมองซีกซ้าย  ➨ ทำงานส่วนของการคิดที่เป็นเหตุผล 
        สมองซีกขวา    ทำงานส่วนของจิตนาการ และความคิดสร้างสรรค์
  🔸 ทฤษฎีพหุปัญญาของการ์ดเนอร์ (Gardner)
      จำแนกความสามารถหรือสติปัญญาของคนเอาไว้ 9 ด้าน ได้แก่
                    - ความสามารถด้านภาษา
                    - ความสามารถด้านตรรกวิทยาและคณิตศาสตร์
                    - ความสามารถด้านดนตรี
                    - ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
                    - ความสามารถด้านกีฬาและการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
                    - ความสามารถด้านมนุษย์สัมพันธ์
                    - ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์
                    - ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา
                    - ความสามารถในการคิดพลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา
  🔸 ทฤษฎีโอตา (Auta)  เดวิส(Davis) และซัลลิแวน (Sullivan)
      การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามรูปแบบโอตา มีลำดับการพัฒนา 4 ขั้นตอน ได้แก่
ขั้นตอนที่ 1 การตระหนัก ➔ ต้องตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ที่มีต่อตนเองทั้งในอดีตและปัจจุบัน
ขั้นตอนที่ 2 ความเข้าใจ ➔ มีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องต่างๆ
ขั้นตอนที่ 3 ทคนิควิธี ➔ การรู้เทคนิควิธีในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทั้งที่เป็นเทคนิคส่วนบุคคลและเทคนิคที่เป็นมาตรฐาน
ขั้นตอนที่ 4 การตระหนักในความจริงของสิ่งต่างๆ ➔ การรู้จักหรือตระหนักในตนเอง พอใจในตนเอง สามารถดึงศักยภาพมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง

พัฒนาการทางศิลปะ 
🌠 วงจรของการขีดๆเขียนๆ
       เคลล็อก (Kellogg) ศึกษางานขีดๆเขียนๆของเด็กปฐมวัย และจำแนกขั้นตอนออกเป็น 4 ขั้นตอน ทำให้เข้าใจถึงความสำคัญของงานขีดๆเขียนๆทางศิลปะที่มีผลเชื่อมโยงกับพัฒนาการของเด็ก 4 ขั้นตอน มีดังนี้  ขั้นขีดเขี่ย  ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง ขั้นรู้จักออกแบบ และขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ 
🔸 ขั้นที่ 1 ขั้นขีดเขี่ย (placement  stage)
                - เด็กวัย 2 ขวบ
                - ขีดๆเขียนๆตามธรรมชาติ
                - ขีดเขี่ยเป็นเส้นตรงบ้าง โค้งบ้าง
                - ขีดโดยปราศจากการควบคุม
🔸 ขั้นที่ 2 ขั้นเขียนเป็นรูปร่าง (shape  stage)
                - เด็กวัย 3 ขวบ
                - ขีดๆเขียนๆเริ่มเป็นรูปร่างขึ้น
                - เขียนวงกลมได้
                - ควบคุมมือกับตาให้สัมพันธ์กันมากขึ้น
🔸 ขั้นที่ 3 ขั้นรู้จักออกแบบ (design stage)
               - เด็กวัย 4 ขวบ
               - ขีดๆเขียนๆที่เป็นรูปร่างเข้าด้วยกัน
               - วาดโครงสร้างหรือเค้าโครงได้
               -วาดสี่เหลี่ยมได้
🔸 ขั้นที่ 4 ขั้นการวาดแสดงเป็นภาพ (pictorial stage) 
              - เด็กวัย 5 ขวบขึ้นไป
              - เริ่มแยกแยะวัตถุที่เหมือนกับมาตรฐานของผู้ใหญ่ได้
              - รับรู้ความเป็นจริง เขียนภาพแสดงถึงภาพคน/สัตว์ได้
              - ควบคุมการขีดเขียนได้ดี
              - วาดสามเหลี่ยมได้
🌠 พัฒนาการด้านร่างกาย
🔸 การพับ
              - อายุ 3-4 ปี     พับและรีดสันกระดาษสองทบตามแบบได้
              - อายุ 4-5 ปี     พับและรีดสันกระดาษสามทบตามแบบได้
              - อายุ 5-6 ปี     พับและรีดสันกระดาษได้คล่องแคล่ว หลายแบบ
🔸 การวาด 
              - อายุ 3-4 ปี   วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ขา ปาก
              - อายุ 4-5 ปี    วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก จมูก ปาก ลำตัว เท้า
              - อายุ 5-6 ปี    วาดภาพคนมีศีรษะ ตา ปาก ลำตัว เท้า จมูก แขน  มือ คอ ผม


ต่อมาอาจารย์ได้ให้นำแต่ละใบงานที่ทำในสัปดาห์ที่แล้วนำมาจัดเรียงกัน ดังนี้ 






 Assessment 

Self-Assessment : มาเรียนตรงเวลา เตรียมใบงานมาเรียบร้อย 
Member Assessment : เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน
Teacher Assessment : ชอบเวลาเรียนที่ไม่ต้องมีเนื้อหาเยอะค่ะ อาจารย์แบ่งการสอนได้ดี เพราะสอนทฤษฎีบ้างแล้วให้ทำกิจกรรมบ้าง เพื่อไม่ให้น่าเบื่อและง่วงจนเกินไป



วันพฤหัสบดีที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2562

Learning Log 2

Learning Log 2

Thursday 17th January  2019

 วันนี้อาจารย์ได้เริ่มการเรียนการสอนในเรื่อง ความหมายความสำคัญของศิลปะ และมีกิจกรรม ดังนี้
✨ ความหมายและความสำคัญของศิลปะ 
🌠 ความหมายของศิลปะ
         ศิลปะ แต่เดิมหมายถึง งานช่างฝีมือ เป็นงานที่มนุษย์ใช้สติปัญญาสร้างสรรค์ขึ้นด้วยความประณีต วิจิตรบรรจง ฉะนั้น งานศิลปะจึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็น ผลงานที่มนุษย์ใช้ปัญญา ความศรัทธา และความพากเพัยร พยายามสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ 
ศิลปะ มี 3 ประเภท 
1. จิตรกรรม  ⇨ วาด
2. ประติมากรรม ปั้น
3. สถาปัตยกรรม สร้าง คือ เด็ก ➙ "ประดิษฐ์"  
🔹 ความงาม (ทางกาย,ทางใจ)
🔹 รูปทรง
🔹 การแสดงออก
   "ศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ 
เพื่อให้เกิดความงาม และความพึงพอใจ"

🔹 Art มีรากฐานมาจาก ภาษาลาตินว่า Ars หมายถึงทักษะ หรือความชำนาญ หรือความสามารถพิเศษ
🔹 ศิลปะ ในภาษาไทย มาจากภาษาสันสกฤตว่า ศิลป
🔹ภาษาบาลี ว่า สิปป มีความหมายว่าฝีมืออันยอดเยี่ยม

🌠 ปรัชญาศิลปศึกษา
🔸 มุ่งสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์
🔸 เป็นเครื่องมือในการแสดงออก และใช้ความคิดสร้างสรรค์
🔸 ให้ความสำคัญกับกระบวนการสร้างสรรค์งาน
🔸 เน้นความไวในการรับรู้ด้านอารมณ์ ความคิดจากสิ่งที่ทองเห็น
🔸 ความรู้สึกที่มีอยู่เบื้องหลังผลงาน
🔸 สนับสนุนให้เรียนรู้ ด้วยการค้นคว้า ทดลองสิ่งใหม่ๆ
🔸 นำไปใช้พัฒนาชีวิตด้านอื่นๆได้

🌠 ความสำคัญของศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย 🌠
🔸 ตอบสนองความต้องการของเด็กปฐมวัย
      - เด็กชอบวาดรูป ขีดๆเขียนๆ
      - เด็กมีความคิด จิตนการ
      - เด็กใช้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด ที่บางครั้งที่สามารถพูด อธิบายได้
      - เด็กต้องการการสนับสนุนจากผู้ใหญ่
      - เด็กต้องการกำลังใจ การสร้างความเชื่อมั่น และความภาคภูมิใจ
🔸 เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่สำคัญสำหรับเด็กปฐมวัย
🔸 ช่วยจัดสรรประสบการณ์ที่มีผลต่อการเรียนรู้ให้กว้างมากขึ้น      
🔸 ช่วยพัฒนาเด็กเป็นรายบุคคล
🔸 ช่วยเสริมสร้าง / กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์




✧ กิจกรรมที่ทำในชั้นเรียน ✧

ใบงานที่ 1 
กิจกรรม : วาดภาพระบายสี ตนเองตามจินตนาการ



ใบงานที่ 2 
กิจกรรม : วาดภาพต่อเติมจากเส้นที่กำหนดให้ 




ใบงานที่ 3 
กิจกรรม : วาดภาพหัวข้อ "มือน้อยสร้างสรรค์"



ใบงานที่ 4 
กิจกรรม : วาดลวดลายที่ไม่ซ้ำกันในแต่ละช่อง



ใบงานที่ 5 
กิจกรรม : วาดโครงสร้างรูปร่างสัตว์ที่ชอบ 1 ชนิด 
และออกแบบลวดลายตามจินตนาการ



ใบงานที่ 6  
กิจกรรม : วาดภาพต่อจุดให้เป็นภาพตามจินตนาการ

   


ใบงานที่ 7 
กิจกรรม : วาดโครงร่างอะไรก็ได้ที่ชอบ 1 ชนิด 



 Assessment 

Self-Assessment : ตั้งใจทำกิจกรรม มีบ่นบ้างเล็กน้อยค่ะ
Member Assessment : เพื่อนๆตื่นเต้นและตั้งใจทำกิจกรรม
Teacher Assessment : อาจารย์ให้คำแนะนำดีค่ะ แต่งานที่ทำในคาบค่อนข้างเยอะ อาจารย์จึงให้กลับไปทำใหม่ได้ 




วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562

Learning Log 1

Learning Log 1

Thursday 10th January  2019

วันนี้เป็นคาบแรกสำหรับการเรียนการสอน
วิชาการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย 
โดยอาจารย์ได้ชี้แจงรายละเอียดต่างๆ สิ่งต่างๆที่เราต้องเรียนในภาคเรียนนี้ 
พร้อมบอกถึงข้อตกลงในการเรียนต่างๆ



ต่อมาอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำ
แบบทดสอบโดยให้ต่อเติมภาพที่อาจารย์ได้กำหนดมาให้
เพื่อดูว่าจะได้คะแนนเท่าไหร่และความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละคนจะอยู่ในระดับใด





ในส่วนของดิฉันได้คะแนนรวมออกมา คือ 38 คะแนนค่ะ 😃


จากนั้นอาจารย์ได้ให้ช่วยกันตอบคำถามที่อาจารย์ได้นำมาให้เป็นกลุ่ม 
โดยให้สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนช่วยกันคิดหาคำตอบ 
และออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน 


 เพื่อนแต่ละกลุ่มออกมาพูดหน้าชั้นเรียน



 สุดท้ายอาจารย์ได้นำคลิป VDO  ด.เด็ก ช.ช้าง มาให้ชม 
พร้อมให้ข้อคิดกับสิ่งที่ได้รับชมด้วยค่ะ 

 Assessment 

Self-Assessment : ตื่นเต้น ตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆและมีคุยกับเพื่อนๆบ้างเล็กน้อยค่ะ
Member Assessment : เพื่อนๆตั้งใจทำกิจกรรมต่างๆ และมีความคิดสร้างสรรค์ในการวาดรูปที่แตกต่างกันออกไป 
Teacher Assessment : อาจารย์ตรงต่อเวลา มีการเตรียมพร้อมในการสอนมาเสมอ มีกิจกรรมที่สนุก ผ่อนคลายค่ะ